น้ำมันเครื่อง ทำหน้าที่หล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ
ที่เคลื่อนไหวภายในระบบเครื่องยนต์ เช่น ลูกสูบ เพลาข้อเหวี่ยง เป็นต้น เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อน ป้องกันการสึกหรอของเครื่องยนต์ และช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องมีหลายประเภท หลายเกรด สำหรับใช้กับเครื่องยนต์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับน้ำมันเครื่องยนต์ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกน้ำมันเครื่อง เมื่อถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนถ่าย
วันนี้ G.P.Auto Parts จึงจะพาไป “เลือกน้ำมันเครื่องที่ใช่ สำหรับตัวคุณและรถของคุณ ด้วย 4 ขั้นตอน” กันครับ
ขั้นตอนที่ 1 เลือกประเภทน้ำมันเครื่อง
หลักๆแล้วจะมีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ เบนซินและดีเซล โดยรถยนต์แต่ละคันจะมีบอกตามคู่มือการใช้งานรถยนต์ว่ารถคันนี้ควรเติมน้ำมันเครื่องแบบไหน?
แนะนำว่าเราควรใช้น้ำมันเครื่องให้ถูกประเภทกับเครื่องยนต์จะดีที่สุดนะครับ เพราะหากเติมผิดประเภทจะทำให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วและเสียหายแน่นอน โดยส่วนใหญ่แล้วหน้าฉลากจะมีเขียนบอกอยู่ว่าเป็นน้ำมันเครื่องประเภทไหน
ถ้าเป็นน้ำมัน#เบนซิน โดยทั่วไปจะระบุที่ฉลากไว้ว่า “ Gasoline ”
ถ้าเป็นน้ำมัน#ดีเซล โดยทั่วไปจะระบุที่ฉลากไว้ว่า “ Diesel ”
ขั้นตอนที่ 2 เลือกชนิดน้ำมันเครื่อง
ชนิดน้ำมันเครื่องแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ .
1.น้ำมันสังเคราะห์แท้ 100% (Fully Synthetic) เป็นน้ำมันเครื่องที่มีระยะเวลาในการใช้งานยาวที่สุด✨ ช่วยส่งเสริมสมรรถนะต่างๆ ให้กับรถได้เป็นอย่างดี ทนอุณหภูมิสูงได้ดี ไม่เสื่อมสลายง่าย รักษาความสะอาดของเครื่องยนต์ ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง เหมาะสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้รถทุกวัน และมีเวลาจำกัดในการดูแลรักษา ????ระยะเปลี่ยนถ่าย 15,000-20,000กิโลเมตร หรือ 1 ปี
2.น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ เกิดจากการผสมกันระหว่างน้ำมันพื้นฐาน (Base oil) สังเคราะห์แท้กับน้ำมันพื้นฐานธรรมดามีราคาไม่แพงมาก ระยะการใช้งานปานกลาง เหมาะสำหรับการใช้งานที่มีรอบการเปลี่ยนถ่ายไม่สูงมาก ????ระยะเปลี่ยนถ่าย 8,000-10,000 กิโลเมตร หรือ 6 เดือน
3.น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic) มันเครื่องแบบธรรมดา เป็นน้ำมันเครื่องที่มีราคาประหยัดที่สุด แต่มีระยะเวลาการใช้งานสั้นที่สุด เน้นเปลี่ยนถ่ายเร็ว ออกแบบสำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้งานหนัก เช่น รถบรรทุก รถบัส รถหัวลาก รถกระบะ ????ระยะเปลี่ยนถ่าย 5,000-8,000 กิโลเมตร หรือ 6 เดือน
ขั้นตอนที่ 3 เลือกความหนืดของน้ำมันเครื่อง
ความหนืดของน้ำมันเครื่อง คือ ระดับความข้นของน้ำมันเครื่อง เรียกง่ายๆว่า หากน้ำมันเครื่องข้นหรือหนืดเกินไป จะไม่สามารถไหลเวียนและหล่อลื่นเครื่องยนต์ได้อย่างดี และหากมีความข้นหรือหนืดน้อยไป นั่นคือ น้ำมันเครื่องเหลวมากไปนั่นเอง จะไม่สามารถให้การปกป้องชิ้นส่วนเครื่องยนต์ได้
สามารถดูได้จากตัวอักษร “W” โดยจะมีตัวเลขที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ตัวเลขที่อยู่หน้า “W” คือค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องในสภาวะอุณหภูมิที่ต่ำหรือขณะที่เครื่องยนต์เย็น ยิ่งตัวเลขน้อยจะแสดงถึงค่าความหนืดที่ต่ำ ทำให้สามารถหล่อลื่นเครื่องยนต์ขณะเย็นได้ดี
ตัวเลขหลัง “W” คือค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องในสภาวะอุณหภูมิที่สูงหรือขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน ยิ่งตัวเลขสูงจะแสดงถึงค่าความหนืดที่สูง ทำให้สามารถหล่อลื่นและปกป้องเครื่องยนต์ขณะทำงานได้ดี เช่น 30, 40, 50 ,60 โดยจะวัดที่อุณหภูมิ 100องศาเซลเซียส
แต่สำหรับการใช้งานในบ้านเราตัวเลขหน้า “W” ไม่ต้องดูก็ได้ ให้เน้นดูตัวหลังเป็นหลัก สามารถดูได้จากคู่มือที่ติดมากับรถยนต์จะมีบอกครับว่ารถของคุณควรใช้ความหนืดที่เท่าไหร่
โดยรถยนต์แต่ละประเภทจะใช้ระดับความหนืด ดังนี้ครับ
รถยนต์ที่ยังใหม่
มีเลขกิโลเมตรหรือเลขไมล์ไม่เกิน 200,000กิโลเมตร ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดต่ำ เช่น 30 เป็นต้น .
รถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมานาน
มีเลขกิโลเมตรหรือเลขไมล์ 200,000กิโลเมตรขึ้นไป ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดสูง เช่น 40 หรือ 50 เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 4 เลือกค่ามาตรฐานน้ำมันเครื่อง
ค่ามาตรฐานน้ำมันเครื่อง คือ เกรดคุณภาพของน้ำมันเครื่อง ปัจจุบันมีหลายองค์กร . JASO (Japanese Automotive Standard Organization )
SAE ( Society of Automotive Engineers)
API ( American Petroleum Institute )
โดยสถาบันเหล่านี้จะกำหนดมาตรฐานของน้ำมันเครื่อง
โดยส่วนใหญ่ประเทศไทยจะใช้ของ “API” มากที่สุด “API” ย่อมากจาก “American Petroleum Institute” หรือ ภาษาไทยเรียกว่า “สถาบันปิโตรเรียมอเมริกา”
มาตรฐานที่ดีที่สุดในปัจจุบัน คือ มาตรฐาน Dexos รับรองเฉพาะน้ำมันสูตรสังเคราะแท้ 100% เท่านั้น และเป็น ลิขสิทธิ์เฉพาะของผู้ผลิตรถยนต์ บริษัท General Motors (GM) พัฒนาโดยทีมวิศวกร GM Global Powertrain โดยรวมเอาจุดเด่นของมาตรฐานล่าสุดจากสถาบันชั้นนำของสหรัฐอเมริกาและยุโรป คือ API และ ACEA เข้าไว้ด้วยกัน จึงช่วยยืดอายุการเปลี่ยนถ่ายได้มากกว่าน้ำมันสังเคราะห์แท้ทั่วไปถึง 2 เท่า ด้วยเทคโนโลยี EOLS (Engine Oil Life System)
สำหรับน้ำมันเครื่องที่ต้องการผ่านมาตรฐาน Dexos ต้องทำการซื้อลิขสิทธิ์ License จากทางบริษัท General Motors (GM) ถึงสามารถนำตราสัญลักษณ์ dexos ไปติดอยู่หน้าแกลอนผลิตภัณฑ์ได้ และจะรู้ว่าน้ำมันเครื่องนั้นๆ ผ่านมาตรฐาน #dexos จริง จุดสังเกตง่ายคือต้องมีตราสัญลักษณ์อยู่หน้าแกลอนน้ำมันเครื่องนั้นๆนะครับ
.
สำหรับแบรนด์น้ำมันเครื่อง ACDelco #เอซีเดลโก้ คือแบรนด์ที่ผลิตโดยบริษัท General Motors (GM) โดยตรง แน่นอนว่าจะต้องมีมาตรฐาน dexos มาใช้ในเกรดน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ด้วยเช่นกัน และไม่ใช่แค่ผ่านมาตรฐานเท่านั้น แต่จะมีสูตรเฉพาะที่เหนือกว่ามาตรฐานระดับทั่วไป โดยสังเกตจากตราสัญลักษณ์ที่อยู่บนหน้าแกลอน ????✨